ฐานราก (Footing ) คือชิ้นส่วนของโครงสร้างของอาคาร ที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่เป็นที่รวมรับน้ำหนัก แล้วถ่ายลงสู่ชั้นดิน ฐานรากมักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะว่าก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี การแบ่งประเภทของฐานราก สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ฐานรากแผ่ (Spread Footing) หรือฐานรากตื้น (Shallow Foundation) คือฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินนั้นโดยตรง ฉะนั้นการเลือกใช้ฐานรากแผ่จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านขนาดของน้ำหนัก และคุณสมบัติของดินที่สามารถรับน้ำหนักในท้องถิ่นนั้นๆ (ดูข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้จากกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 6 พ.ศ.2527 ) มิติของคอนกรีต รายละเอียดของการเสริมเหล็ก ขึ้นอยู่กับรายการคำนวณของวิศวกรผู้ออกแบบ
2.ฐานรากเข็ม (Pile Footing) หรือฐานรากลึก (Deep Foundation) คือฐานรากแบบวางบนเสาเข็ม ลักษณะนี้ฐานรากจะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างและถ่ายน้ำหนักนั้นให้กับเสาเข็มที่รองรับอยู่ใต้ฐานราก และเสาเข็มจะถ่ายน้ำหนักสู้ชั้นดินที่อยู่ลึกลงไป มิติของคอนกรีต รายละเอียดของการเสริมเหล็ก ขึ้นอยู่กับรายการคำนวณของวิศวกรผู้ออกแบบ
ฐานรากเสาเข็ม (Pile Footing) ; F1
ฐานรากเสาเข็ม (Pile Footing) ; F2
ฐานรากเสาเข็ม (Pile Footing) ; F3
ข้อกำหนดทั่วไปในการออกแบบฐานราก*
ข้อกำหนดทั่วไปและมาตรฐาน วสท. 1007-34 กำนดไว้ดังนี้
-ความของคอนกรีตหุ้มเหล็ก ต้องไม่น้อยกว่า 7.50 ซม.
-ความหนาประสิทธิผล (d) ของฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็กต้องไม่น้อยกว่า 15 ซม. สำหรับฐานรากแผ่หรือฐานรากเสาเข็มสั้น และถ้าเป็นฐานรากเสาเข็มยาว ต้องหนาไม่น้อยกว่า 30 ซม.
-เสาตอม่อเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยมใดๆ ให้คิดขอบขางของเสานั้นเหมือนกับเสารูปตัดสี่เหลี่ยมสี่เหลี่ยมจตุรัส
-ก่อนเทคอนกรีตฐานราก ต้องมีทรายหยาบและคอนกรีตหยาบรองพื้น 5-10 ซม. เพื่อป้องกันดินโคลนหรือสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อนเหล็กเสริมในฐานราก
-ประมาณน้ำหนักฐานรากเบื้องต้น 10-15% ของน้ำหนักบรรทุกที่ถ่ายลงมาจากเสาตอม่อ
-เสาตอม่อให้มีความลึกประมาณ 1.00-1.50 เมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของชั้นดินและงานระบบต่างๆ ที่ต้องลอดฝ่านใต้คานคอดิน ถ้าเป็นณานบากแผ่ ก็ควรให้นั่งบนชั้นดินแข็งเดิมและบดอัดให้แน่ตามที่มาตรฐานกำหนด
-ฐานรากใดที่ต้องรองรับแรงสั่นสะเทือนหรือโมเม้นต์ดัด เสาเข็มที่รองรับฐานรากนั้นควรกำหนดให้เสริมเหล็กเดือยพิเศษ เพื่อยึดเหนี่ยวฐานรากกับเสาเข็มไม่ให้หลุดออกจากกัน
*ที่มา ; การออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเบื้องต้น ( รศ.กวี หวังนิเวศ์นกุล )